วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
Journal of Mass Communication Technology, RMUTP
ISSN 2539-5963 (Print)
ISSN 2586-8357 (Online)
- นโยบายการจัดพิมพ์
วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร จัดทำโดยคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เพื่อเป็นสื่อและช่องทางในการเผยแพร่ผลงานวิจัย ความรู้ และวิทยาการทางเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน นิเทศศาสตร์และสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลคอนเทนท์ มัลติมีเดีย และสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง วารสารเปิดรับบทความทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย รวมถึงภายในและภายนอกประเทศ โดยรับบทความแบบเต็มรูปแบบ (Full Paper) รวมถึงบทความวิชาการ (Review Articles) ซึ่งบทความสามารถเสนอได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยวารสารจะจัดพิมพ์ปีละ 2 ฉบับ ออกเผยแพร่ในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ผู้สนใจสามารถส่งบทความต้นฉบับได้โดยตรงที่บรรณาธิการวารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ตามที่อยู่ข้างล่าง หรือทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) โดยบทความดังกล่าวจะต้องไม่เคยเผยแพร่ในวารสารอื่นใดมาก่อนและเป็นข้อคิดเห็นของ ผู้ส่งบทความเท่านั้น - การส่งบทความ
- การเตรียมต้นฉบับ
ผู้สนใจส่งต้นฉบับ บทความต้องมีความยาวไม่เกิน 10 หน้ากระดาษ A4 การตั้งค่าหน้ากระดาษขอบด้านบน ด้านล่าง และด้านขวา 2.5 ซม. ขอบด้านซ้าย 3 ซม. พิมพ์ 2 คอลัมน์ กว้าง 7.25 ซม. ระยะห่าง 1 ซม. พิมพ์ด้วยตัวอักษร “TH Baijam” ตัวธรรมดา ขนาด 15 พอยต์ มีรายละเอียดดังนี้
1) ชื่อเรื่องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ให้พิมพ์ตัวหนา ขนาด 18 พอยต์
2) บทคัดย่อ (Abstract) ไม่เกิน 250 คำ ให้พิมพ์คอลัมน์เดียว มีภาษาไทย 1 ย่อหน้า ภาษาอังกฤษ 1 ย่อหน้า
3) หัวข้อหลักต่างๆ ให้พิมพ์ตัวหนา ขนาด 15 พอยต์ ทั้งฉบับ ส่วนหัวข้อย่อยให้พิมพ์ตัวธรรมดา ขนาด 15 ทั้งฉบับ
4) เนื้อหาให้ย่อหน้า 0.5 ซม. ใช้ตัวธรรมดา ขนาด 15 พอยต์ และพิมพ์ชิดขอบทั้งสองด้าน
5) การลำดับหัวข้อของเนื้อเรื่องให้ใช้เลขกำกับ โดยให้บทนำเป็นหมายเลข 1 และหากมีหัวข้อย่อยให้ใช้ระบบเลขทศนิยมกำกับหัวข้อย่อย แต่ไม่เกิน 3 ระดับ เช่น 2.1 หรือ 2.2.1 เป็นต้น - การเรียงลำดับเนื้อหา
การเรียงลำดับเนื้อหาบทความในวารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ให้ผู้สนใจเรียงลำดับเนื้อหาตามหัวข้อหลักดังนี้
1) ชื่อเรื่อง (Title) ควรครอบคลุมเนื้อหาสำคัญ กระชับ ชัดเจน ทั้งชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใช้อักษรตัวหนา ขนาด 18 โดยพิมพ์ไว้กึ่งกลางหน้ากระดาษ
2) ชื่อผู้เขียน ให้ระบุชื่อเต็ม-นามสกุลเต็ม ของผู้เขียนให้ครบถ้วนทุกคน ถ้ามีมากกว่า 1 คน ให้พิมพ์คำว่า “และ” ไว้ที่หน้าคนสุดท้าย โดยให้ใส่ตัวเลขอารบิคกำกับต่อท้ายนามสกุล โดยทำเป็นตัวยก และใส่เครื่องหมายดอกจัน “*” กำกับท้ายตัวเลขสำหรับผู้ประสานงาน ใช้ตัวอักษรตัวธรรมดา ขนาด 14 พอยต์ โดยพิมพ์ไว้ตรงกึ่งกลางหน้ากระดาษ
3) ที่อยู่หรือหน่วยงาน ให้พิมพ์ตำแหน่งทางวิชาการ (ถ้ามี) ชื่อหน่วยงานหรือสถาบันในสังกัดของผู้เขียนทุกคน โดยเรียงตามหมายเลข ไว้ท้ายกระดาษของบทคัดย่อ และสำหรับผู้ที่ทำหน้าที่ติดต่อประสานงานกับผู้ร่วมวิจัย (Corresponding Author) ให้ใส่หมายเลขโทรศัพท์ และ e-mail ที่ติดต่อได้ ให้ใช้ขนาดอักษรตัวธรรมดา ขนาด 12 พอยต์ โดยพิมพ์ชิดขอบกระดาษซ้าย
4) บทคัดย่อ (Abstract) ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยให้นำบทคัดย่อภาษาไทยขึ้นก่อนภาษาอังกฤษ ต้องมีเนื้อหาตรงกัน ให้พิมพ์คอลัมน์เดียว ย่อหน้า 1.25 ซม. เนื้อหาในบทคัดย่อควรระบุวัตถุประสงค์ ระเบียบวิธีวิจัย และสรุปผลการวิจัยโดยย่อ หัวข้อบทคัดย่อให้ใช้อักษรตัวหนา ขนาด 15 พอยต์ โดยพิมพ์ไว้ตรงกึ่งกลางหน้ากระดาษ และเนื้อหาให้ใช้อักษรตัวธรรมดา พิมพ์ชิดขอบทั้งสองด้าน โดยมีความยาวไม่เกิน 250 คำ
5) คำสำคัญ (Keyword) ให้พิมพ์ “คำสำคัญ:” เป็นภาษาไทย โดยใช้อักษรตัวหนา อยู่ใต้บทคัดย่อ ให้เว้นระยะห่าง 1 บรรทัด และ “Keywords:” ภาษาอังกฤษ โดยใช้อักษรตัวหนา อยู่ใต้ Abstract ให้เว้นระยะห่าง 1 บรรทัด ส่วนเนื้อหาให้ใช้อักษรตัวธรรมดา โดยคำสำคัญไม่เกิน 4 คำ
6) เนื้อหา (Text) บทความวิจัยประกอบด้วย
(1) บทนำ (Introduction) บอกความสำคัญหรือที่มาของปัญหาที่นำไปสู่การศึกษา วัตถุประสงค์ สมมติฐาน และอาจรวมถึงการทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) ที่เกี่ยวข้อง
(2) ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) บอกเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์และวิธีการวิจัย (Materials and Methods) บอกรายละเอียดการศึกษา การวิเคราะห์ และการดำเนินการที่กระชับและชัดเจน
(3) ผลการวิจัย (Research Results) บอกผลที่พบอย่างสมบูรณ์ มีรายละเอียดครบถ้วน อาจมีแผนภูมิ รูปภาพ หรือตารางประกอบคำอธิบาย
(4) อภิปรายผลและสรุปผล (Discussion and Conclusion) อาจเขียนรวมกับผลการวิจัยได้ เป็นการประเมิน การตีความ และการวิเคราะห์ในแง่มุมต่างๆ ควรมีการอ้างหลักการ แนวคิด หรือทฤษฎีมาสนับสนุนหรือหักล้างอย่างเป็นเหตุเป็นผล และอาจมีข้อเสนอแนะที่จะนำผลวิจัยไปใช้ประโยชน์
7) กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) ระบุสั้นๆ ว่าได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยและความช่วยเหลือจากแหล่งใดบ้าง
8) เอกสารอ้างอิง (References) การอ้างอิงในบทความใช้การอ้างอิงแบบ APA ทุกการอ้างอิงที่ปรากฏในเนื้อหาต้องมีในเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ ซึ่งการอ้างอิงในเนื้อหาและเอกสารอ้างอิงทั้งบทความจะต้องตรงกัน โดยห้ามใส่เอกสารอ้างอิงบทความโดยปราศจากการอ้างอิงในเนื้อบทความ และต้องมีการอ้างอิงที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ รายละเอียดของเอกสารอ้างอิง ประกอบด้วยชื่อ-สกุลผู้เขียน ชื่อหนังสือหรือชื่อของบทความ ชื่อของเอกสารที่พิมพ์ สำนักพิมพ์หรือสถานที่พิมพ์ ปีที่ (ฉบับที่) พิมพ์ และเลขหน้าของบทความที่อ้างอิง ทั้งนี้การเขียนให้เป็นไปตามรูปแบบของชนิดของเอกสารที่อ้างอิง
9) ตาราง (Table) การพิมพ์ตารางต้องมีหมายเลขกำกับใช้คำว่า “ตารางที่…” และมีคำอธิบายไว้เหนือตาราง โดยทุกตารางที่ใส่ไว้ในบทความจะต้องมีการกล่าวอ้างในเนื้อบทความ
10) รูปภาพ (Figure) การพิมพ์รูปภาพต้องมีหมายเลขกำกับใช้คำว่า “ภาพที่…” และมีคำอธิบายใส่ไว้ใต้รูป (รูปภาพให้บันทึกในรูปแบบของ .jpg แนบเพิ่มมาพร้อมกับไฟล์บทความด้วย) โดยทุกรูปภาพที่ใส่ไว้ในบทความจะต้องมีการกล่าวอ้างในเนื้อบทความ
11) สมการ (Equation) การพิมพ์ให้พิมพ์กึ่งกลางคอลัมน์และต้องมีหมายเลขกำกับอยู่ภายในวงเล็บ หมายเลขสมการ อยู่ชิดขอบด้านขวาสุดของคอลัมน์
12) ภาคผนวก (ถ้ามี) - เกณฑ์การพิจารณา
บทความจะต้องได้รับการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้นอย่างน้อย 2 คน ซึ่งกองบรรณาธิการ อาจให้ผู้เขียนปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และทรงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตัดสินลงตีพิมพ์หรือไม่ก็ได้ - การส่งต้นฉบับ
ส่งต้นฉบับบทความฉบับเต็มรูปแบบ (Full Paper) โดยส่งต้นฉบับที่ระบุชื่อผู้เขียน จำนวน 1 ชุด และส่งต้นฉบับที่ไม่ระบุชื่อผู้เขียน จำนวน 3 ชุด ซีดี 1 แผ่น พร้อมทั้งแบบฟอร์มนำส่งบทความเพื่อลงพิมพ์ในวารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ส่งมาที่
บรรณาธิการวารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
399 ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
หรือ ส่งทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail): jmct@rmutp.ac.th
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายประสานงาน โทร. 02-6653777 ต่อ 6817, 6833
E-Mail: jmct@rmutp.ac.th
- การเตรียมต้นฉบับ
ขั้นตอนการส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
- ประเภทของผลงานที่จะตีพิมพ์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1.1 บทความวิจัย
1.2 บทความวิชาการ - การพิมพ์ต้นฉบับผลงานที่จะตีพิมพ์
2.1 ความยาวของบทความ/งานวิจัยไม่เกิน 10 หน้ากระดาษ A4 (รวมเอกสารอ้างอิงและประวัติ)
2.2 ชนิดของตัวอักษรที่พิมพ์เป็น TH Baijam ขนาด 14 พอยท์ - รูปแบบการนำเสนอบทความวิชาการ
3.1 ชื่อเรื่อง (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
3.2 บทคัดย่อ (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
3.3 คำสำคัญ ให้ระบุไม่เกิน 4 คำ
3.4 บทนำ
3.5 เนื้อหา
3.6 บทสรุป
3.7 เอกสารอ้างอิง
3.8 การอ้างอิงในเนื้อหาใช้รูปแบบ APA - รูปแบบการนำเสนอบทความวิจัย
4.1 ชื่อเรื่องงานวิจัย (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
4.2 บทคัดย่อ (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
4.3 คำสำคัญ ให้ระบุไม่เกิน 4 คำ
4.4 บทนำ
4.5 ระเบียบวิธีวิจัย
4.6 ผลการวิจัย
4.7 อภิปรายผลและสรุปผล
4.8 บรรณานุกรม
4.9 การอ้างอิงในเนื้อหาใช้รูปแบบ APA - วิธีการส่งบทความ
5.1 กรอกแบบนำส่งเอกสาร
5.2 แนบบทความ จำนวน 4 ชุด
5.3 แนบไฟล์บทความ 1 แผ่นซีดี
5.4 ส่งเอกสารที่
กองบรรณาธิการวารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
399 ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
หรือ ส่งทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail): jmct@rmutp.ac.thสอนถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายประสานงาน โทร. 02-2829009-15 ต่อ 6817, 6833
E-Mail: jmct@rmutp.ac.th - การตอบรับ
เมื่อส่งบทความวิชาการ/บทความวิจัยแล้วจะได้รับหนังสือตอบรับบทความเบื้องต้นภายใน 5 วันทำการ และจะได้รับหนังสือตอบรับการตีพิมพ์ ภายใน 90 วันทำการ - ระยะเวลาในการดำเนินการ
7.1 กองบรรณาธิการส่งบทความให้กรรมการกลั่นกรองพิจารณา รอผลการพิจารณาจากกรรมการกลั่นกรอง ภายใน 4 สัปดาห์
7.3 เมื่อได้รับบทความคืนจากกรรมการกลั่นกรองพิจารณาเรียบร้อยแล้ว กองบรรณาธิการจะส่งบทความให้ผู้เขียนบทความแก้ไขตามข้อเสนอแนะของกรรมการกลั่นกรอง ภายใน 1 สัปดาห์
7.4 เมื่อผู้เขียนแก้ไขเรียบร้อยแล้วส่งบทความสมบูรณ์ทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail): jmct@rmutp.ac.th
7.5 บรรณาธิการออกหนังสือตอบรับการตีพิมพ์บทความลงวารสาร - การตีพิมพ์วารสาร
8.1 กองบรรณาธิการจะรวบรวมเอกสารบทความวิชาการ/บทความวิจัย ส่งตีพิมพ์เมื่อมีจำนวนผู้ขอตีพิมพ์บทความครบแล้ว
8.2 การตีพิมพ์วารสารจะใช้เวลาประมาณ 30 วัน เมื่อได้เล่มวารสารที่สมบูรณ์แล้ว กองบรรณาธิการจะแจ้งผู้เขียนให้ทราบและจัดส่งวารสารให้ต่อไป
หมายเหตุ
วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ลงตีพิมพ์บทความที่เคยลงในวารสารวิชาการฉบับอื่นแล้ว
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายประสานงาน
กองบรรณาธิการวารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
399 ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทร. 02-6653777 ต่อ 6817, 6833
E-Mail: jmct@rmutp.ac.th
Website: mct.rmutp.ac.th/jmct